ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมาย
ระบบความเชื่อหรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์หรืออุดมคติทำนองเดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง
อุดมการณ์ของชีวิต อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป
ปรัชญาการศึกษาคือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา คือ
เทคนิคการคิดที่จะแสวงหาคำตอบและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการศึกษาไม่ว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน
เริ่มตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาและการบริหารทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างแท้จริงกองส่งเสริมวิทยะฐานะครู
กรมการฝึกหัดครู (2530 : 20) ให้ความหมายว่า ปรัชญาการศึกษาเป็นแนวคิด อุดมคติ
หรืออุดมการณ์ทางการศึกษา ซึ่งได้กลั่นกรองมาแล้วและจะเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาว่าเป็นวิชาที่ว่าด้วยความรู้อันเกี่ยวกับการศึกษาความรู้อันเกี่ยวกับการศึกษานั้น
หมายถึง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเนื้อหาวิชาที่ให้ศึกษาและวิธีการให้ศึกษา
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง
พึ่งพาตนเองได้
จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น
อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม
หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
-
กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
- กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)
สกินเนอร์ (B. F. Skinner) เป็นผู้นำ
ซึ่งได้ทำการศึกษาทดลองกับสัตว์ในเรื่องของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Stimulus-Response
: S-R Theory) โดยถือว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
ทฤษฎีนี้จึงมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
และถือว่าพื้นฐานของการเรียนรู้ จะมี 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อนสามารถจำแนกออกมาเรียนรู้เป็นส่วนย่อยได้
2. ผู้เรียนเรียนรู้จากการรับรู้และประสบการณ์
3. ความรู้คือ การสะสมข้อเท็จจริง และทักษะต่างๆ
การเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จึงถือว่า การเรียนรู้เป็นการรู้สาระเนื้อหา
ข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎี การเรียนการสอน จึงเน้นเรื่องการใช้ตำราเรียนและมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหา
และข้อเท็จจริงที่ไม่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ 4
ประการ คือ
1. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียน
2. ผลป้อนกลับ (Feedback) ต้องเกิดขึ้นทันที
เช่น ครูต้องบอกว่าตอบถูกหรือผิด
3. แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้ต้องสั้นไม่ต่อเนื่องยืดยาว
4. การเรียนรู้ (การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) ต้องมีการให้รางวัล และเสริมแรง
ในด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จะให้ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และมีบทบาทโดยตรงในการเรียนรู้ (Active Learning) โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอนดังนี้
1. เกิดข้อสงสัย คำถาม หรือเกิดปัญหาที่อยากรู้คำตอบ
2. ออกแบบวางแผนที่จะสำรวจตรวจสอบ
3. ดำเนินการเก็บข้อมูล ทดลอง สำรวจ หาหลักฐานประจักษ์พยาน
4. วิเคราะห์ข้อมูล สร้างคำอธิบายที่สอดคล้องกับข้อมูลหรือหลักฐาน
5. สรุปเป็นความรู้ ขยายและเผยแพร่ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้
แม้กระบวนการวิทยาศาสตร์ดังกล่าวจะได้รับการยอบรับมาก แต่ในทางปฏิบัติ
กระบวนการบางส่วนยังขาดหายไป เป็นต้นว่า
ขั้นตอนแรกส่วนใหญ่ผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้ตั้งปัญหาเอง
ส่วนมากจะมีปัญหาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย และในขั้นตอนที่ 4 และ 5 ส่วนมากครูผู้สอนหรือหนังสือเรียนจะอธิบายและสรุปไว้ให้
ผู้เรียนจึงมีโอกาสน้อยที่จะได้ฝึกปฏิบัติส่วนนี้
ทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้นี้
จะมีหลักการสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. การเรียนการสอนควรเริ่มจากต้นที่ผู้เรียน
ว่าผู้เรียนรู้หรือสร้างความรู้อะไรมาแล้ว
2. ความรู้เดิมของผู้เรียนมักเป็นความรู้ที่ไม่ถูกต้อง
ครูต้องเปลี่ยนด้วยการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่ถูกต้อง
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายของความรู้ด้วยตนเอง
ไม่มีใครสามารถสร้างความหมายของความรู้หรือประสบการณ์ให้ใครได้
การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนได้รับข้อมูล และข้อเท็จจริง
แล้วนำมาสร้างความหมายของตนเอง
ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี
ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
“นวัตกรรม” คือ
การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่
เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส
(Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมาย
ถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน
และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ
(Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
(boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา
ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง
ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก
1. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษาพอจะสรุปได้4
ประการ คือ
1.
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2.
ความพร้อม (Readiness)
3.
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.
ประสิทธิภาพในการเรียน
2.
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
ความหมาย e-Learning หมายถึง “การ เรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ“ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง
และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะ
กระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการWorld
Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ
ส่งข่าวสาร) ระหว่าง กัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1)
แบบ Real-time
ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ
ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2)
แบบ Non
real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์
WebBoard News-group เป็นต้น
3. ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี
หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
(boonpan edt01.htm)
4. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง
ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ
หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
5. หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย4 ทฤษฎี
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2.
ทฤษฎีการสื่อสาร
3.
ทฤษฎีระบบ
4.
ทฤษฎีการเผยแพร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น